|
|
|
1. เปิดฝา CASE เพื่อทำการติดตั้ง LAN CARD เลือกตำแหน่ง SLOT PCI อันใดอันหนึ่งก็ได้ |
รูปแสดง Slot PCT สำหรับติดตั้ง LAN Card |
2 . ทำการติดตั้ง LAN CARD เข้าที่ SLOT PCI ของตัวเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ดังรูป |
รูปแสดงติดตั้ง LAN Card เข้ากับ Slot PCT ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ |
3 . ทำการขันน๊อตเพื่อยึดตัว LAN CARD ดังรูป |
รูปแสดงการขันน๊อตยึด LAN Card เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ |
4 . เมื่อติดตั้ง LAN Card เรียบร้อยแล้วแล้ว ให้ทำการปิดฝา CASE ทำการต่อสายไฟเข้าคอมพิวเตอร์ให้เหมือนเดิม ดังรูป |
|
5 . นำแผ่น CD Driver D-Link (อยู่ในซองที่บรรจุ Lan card อยู่) ใส่ใน Drive CD-ROM ดังรูป |
รูปแสดงแผ่น Driver ของ LAN Card D-Link |
6 . เมื่อใส่แผ่นแล้วไปที่ Drive CD แล้วเลือกไฟล์ autorun |
รูปแสดงไฟล์ autorun.exe ภายใน CD Driver LAN Card |
7 . โปรแกรมจะทำการเปิด โปรแกรมขึ้นมา ให้คลิก Install driver แล้วจึง คลิก Yes อีกครั้ง |
รูปแสดงเมนูโปรแกรมติดตั้ง Driver LAN Card |
8 . คลิก Ok เพื่อ สิ้นสุดการติดตั้ง |
รูปแสดงหน้อจอสิ้นสุดการติดตั้ง |
9 . หลังจากการติดตั้งให้ทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของการติดตั้ง Driver ดังนี้ คลิก Start > Control Panel > System > Hardware > Drivice Manager |
รูปแสดงหน้อจอ Control Panel ของ Windows |
10 . เข้าตรวจสอบ Device Manager ถ้ามี D-link DFE528TX PCI Adapter แสดงว่าการลง Driver สมบรูณ์ ดังรูป |
รูปแสดงสถานะ LAN Card ใน Drevice Manager ที่ติดตั้งสมบูรณ์พร้อมใช้งาน |
วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553
วิธีการติดตั้งการ์ดแลน
ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการ์ดแลน
การ์ดแลน (LAN Card)
การ์ดและหรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “การ์ดอีเธอร์เน็ต” มีไว้ใช้รับ/ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีสายเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเรียกสายนี้ว่า “สายแลน” การเชื่อมต่อเครือข่ายจะช่วยให้เราสามารถแลกเปลี่ยนข ้อมูลกันระหว่างเครื่องได้สะดวกขึ้นอีกทั้งทำให้เราส ามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ง่ายๆ เพียงให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลักเชื่อมต่ออินเ ทอร์เน็ต แล้วเครื่องอื่นๆ ก็ใช้การแชร์อินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายแลน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอี กด้วย สำหรับความเร็วของการ์ดและในปัจจุบันจะอยู่ที่ 100 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) และเริ่มเข้าสู่แลนในระดับความเร็วถึง 1,000 เมกะบิตต่อวินาที หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “กิกะบิตแลน (Gigabit LAN)”
ส่วนประกอบของการ์ดแลน
ส่วนประกอบของการ์ดแลน
การ์ดแลนจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ที่ทำหน้าที่ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย ซึ่งการ์ดและจะไม่สามารถทำงานได้หากขาดส่วน ประกอบดังนี้
1.ชิปควบคุม (Controller Chip) ใช้สำหรับควบคุมการทำงานและการรับ/ส่งข้อมูลของการ์ดแลน ซึ่งการ์ดแลนทุกตัวจะต้องมีชิปตัวนี้ และความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลของการ์ดแลนก็จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นขอ งชิปตัวนี้เช่นกัน ชิปควบคุมรุ่นใหม่สามารถรับ/ส่งข้อมูลได้ทำความเร็วสูงถึง 1,000 Mbps หรือ 1 Gbps
2. หัวต่อ RJ-45 ใช้ต่อเข้ากับสายแลนแบบ UTP (Unshielded Twisted Pari) และแบบ STP (Shielded Twisted Pair) ซึ่งทั้งสองแบบจะต่างกันตรงที่สายแบบ STP จะมีชีลด์ป้องกันสัญญาณรบกวนทำให้การรับ/ส่งข้อมูลทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ UTP จะไม่มีชีลด์
3. บู๊ตรอม (Boot ROM) เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับการ์ดแลน ซึ่งการ์ดแลนส่วนมากจะมีซ็อกเก็ตว่างๆ ไว้สำหรับให้ผู้ใช้ซื้อบู๊ตรอมมาติดตั้งเพิ่มเติม บู๊ตรอมก็คือ หน่วยความจำรอม (ROM) ที่มีการบันทึกระบบปฏบัติการเอาไว้ จึงสามารถบู๊ตเครื่องจากบู๊ตรอมนี้แทนฮาร์ดดิสก์ในเค รื่องได้
4. อินเตอร์เฟส ก็คือ ส่วนที่ใช้เสียบเข้ากับสล็อตบนเมนบอร์ด ซึ่งช่วงแรกที่การ์ดแลยังมีความเร็วเพียง 10 Mbps จะมีทั้งรุ่นที่ใช้กับสล็อต ISA และ PCI แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปใช้สล็อตแบบ PCI ทั้งหมดแล้ว
3. บู๊ตรอม (Boot ROM) เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับการ์ดแลน ซึ่งการ์ดแลนส่วนมากจะมีซ็อกเก็ตว่างๆ ไว้สำหรับให้ผู้ใช้ซื้อบู๊ตรอมมาติดตั้งเพิ่มเติม บู๊ตรอมก็คือ หน่วยความจำรอม (ROM) ที่มีการบันทึกระบบปฏบัติการเอาไว้ จึงสามารถบู๊ตเครื่องจากบู๊ตรอมนี้แทนฮาร์ดดิสก์ในเค รื่องได้
4. อินเตอร์เฟส ก็คือ ส่วนที่ใช้เสียบเข้ากับสล็อตบนเมนบอร์ด ซึ่งช่วงแรกที่การ์ดแลยังมีความเร็วเพียง 10 Mbps จะมีทั้งรุ่นที่ใช้กับสล็อต ISA และ PCI แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปใช้สล็อตแบบ PCI ทั้งหมดแล้ว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)